บิว

บิว

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  23/04/58
เรียนครั้งที่ 13  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


(ความรู้ที่ได้รับ)
1. อาจารย์ให้นักศึกษาเล่นกิจกรรมคำถามจิตวิทยาสนุกๆเพื่อความเพลิดเพลินก่อนการเรียนนั้นเอง

2. เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) IEP
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
- เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว   - ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
      –น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
      –น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
      –น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
ใคร  อรุณ
อะไร  กระโดดขาเดียวได้ 
เมื่อไหร่ / ที่ไหน  กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน  กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

ใคร  ธนภรณ์
อะไร  นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย 
เมื่อไหร่ / ที่ไหน  ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน  ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
*ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.)ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.)ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.)อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
การจัดทำ IEP
1.) การรวบรวมข้อมูล
2.) การจัดทำแผน
3.) การใช้แผน
4.) การประเมิน

4. ต่อจากการเรียนการสอนอาจารย์มีงานให้ทำเป็นงานกลุ่ม คือการเขียนแผนIEP มา1แผน

ภาพประกอบการเรียนการสอน

(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำการเรียนรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันไป การเขียนแผนที่ถูกต้อง และต้องใช้ได้จริงพร้อมกับมีความเหมาะสมแก่เด็กพิเศษด้วย  เพราะทุกอย่างจะส่งผลไปที่เด็ก ฉะนั้นเราควรรู้ไว้นั้นเอง 
(การประเมินผล)
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ในเวลาเรียนก็ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน แต่บางครั้งก็มีพูดคุยกับเพื่อนๆบ้าง มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนนิดหน่อยค่ะ
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนกันดี มีพูดคุยกันเรื่อยๆ แต่เมื่ออาจารย์เตือนเพื่อนๆก็จะเชื่อฟัง เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ทำให้นักศึกษาเข้าใจ และสามารถคิดตามได้อย่างง่าย อาจารย์จะคอยยกตัวอย่างตลอดเวลา ทำให้เราคิดภาพตามได้อย่างเข้าใจ

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น