บิว

บิว

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  27/04/58
เรียนครั้งที่ 14  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ในวันนี้เป็นการเรียนการสอนวันสุดท้าย เป็นการชดเชย โดยอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนสอบร้องเพลง จากการจับฉลากขึ้นมา จับได้เพลงอะไรก็ร้องเพลงนั้น โดยการให้คะแนนคือ
ไม่ดูเนื้อร้อง = 5 คะแนน
ดูเนื้อร้อง = 4 คะแนน
ดูเนื้อร้องพร้อมให้เพื่อนร้องพร้อมกัน = 3 คะแนน
* ดิฉันจับได้เพลงผลไม้ ร้องเพลงได้ 5คะแนน

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  23/04/58
เรียนครั้งที่ 13  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


(ความรู้ที่ได้รับ)
1. อาจารย์ให้นักศึกษาเล่นกิจกรรมคำถามจิตวิทยาสนุกๆเพื่อความเพลิดเพลินก่อนการเรียนนั้นเอง

2. เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program) IEP
แผน IEP
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
- ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
- เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
- แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
- กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว   - ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
      –น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
      –น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
      –น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
ตัวอย่าง
ใคร  อรุณ
อะไร  กระโดดขาเดียวได้ 
เมื่อไหร่ / ที่ไหน  กิจกรรมกลางแจ้ง
ดีขนาดไหน  กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

ใคร  ธนภรณ์
อะไร  นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย 
เมื่อไหร่ / ที่ไหน  ระหว่างครูเล่านิทาน
ดีขนาดไหน  ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
*ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
1.)ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2.)ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3.)อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**
การจัดทำ IEP
1.) การรวบรวมข้อมูล
2.) การจัดทำแผน
3.) การใช้แผน
4.) การประเมิน

4. ต่อจากการเรียนการสอนอาจารย์มีงานให้ทำเป็นงานกลุ่ม คือการเขียนแผนIEP มา1แผน

ภาพประกอบการเรียนการสอน

(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำการเรียนรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันไป การเขียนแผนที่ถูกต้อง และต้องใช้ได้จริงพร้อมกับมีความเหมาะสมแก่เด็กพิเศษด้วย  เพราะทุกอย่างจะส่งผลไปที่เด็ก ฉะนั้นเราควรรู้ไว้นั้นเอง 
(การประเมินผล)
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ในเวลาเรียนก็ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน แต่บางครั้งก็มีพูดคุยกับเพื่อนๆบ้าง มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนนิดหน่อยค่ะ
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนกันดี มีพูดคุยกันเรื่อยๆ แต่เมื่ออาจารย์เตือนเพื่อนๆก็จะเชื่อฟัง เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ทำให้นักศึกษาเข้าใจ และสามารถคิดตามได้อย่างง่าย อาจารย์จะคอยยกตัวอย่างตลอดเวลา ทำให้เราคิดภาพตามได้อย่างเข้าใจ

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  09/04/58
เรียนครั้งที่ 12  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


(ความรู้ที่ได้รับ)
1. อาจารย์พูดคุยเรื่องการสอบจากครั้งก่อน พร้อมอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจในแต่ล่ะข้อว่าควรตอบแบบใดถึงจะดีและมีความถูกต้องที่สุด
2. อาจารย?แจกกระดาษเพลง พร้อมสอนร้องเพลงและร้องไปพร้อมๆกัน

3. เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ในส่วนของทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
- การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้    - มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
- เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้”                   - พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
- อยากสำรวจ อยากทดลอง
ช่วงความสนใจ
- ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
- จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
- เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
- เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
- คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
การรับรู้ การเคลื่อนไหว
- ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น     - ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
- การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
- ต่อบล็อก     - ศิลปะ
- มุมบ้าน       - ช่วยเหลือตนเอง
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
- ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
- รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก
ความจำ
- จากการสนทนา                      - เมื่อเช้าหนูทานอะไร
- แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง      - จำตัวละครในนิทาน
- จำชื่อครู เพื่อน                       - เล่นเกมทายของที่หายไป
ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
- จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
- ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
- ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
- บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
- รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
- มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
- เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
- พูดในทางที่ดี
- จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
- ทำบทเรียนให้สนุก

ภาพประกอบการเรียนการสอน

(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำการเรียนรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกันไป ภาษาที่เราควรใช้กับเด็กให้ถูกต้อง การอยู่กับเด็กการดูแลต่างๆให้ถูกต้อง เพราะทุกอย่างจะส่งผลไปที่เด็ก ฉะนั้นเราควรรู้ไว้นั้นเอง 
(การประเมินผล)
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ในเวลาเรียนก็ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน แต่บางครั้งก็มีพูดคุยกับเพื่อนๆบ้าง มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรืองาน อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนนิดหน่อยค่ะ
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจเรียนกันดี มีพูดคุยกันเรื่อยๆ แต่เมื่ออาจารย์เตือนเพื่อนๆก็จะเชื่อฟัง เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ทำให้นักศึกษาเข้าใจ และสามารถคิดตามได้อย่างง่าย อาจารย์จะคอยยกตัวอย่างตลอดเวลา ทำให้เราคิดภาพตามได้อย่างเข้าใจ

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  26/03/58
เรียนครั้งที่ 11  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


*ในวันนี้เป็นการสอบเก็บคะแนน เป็นข้อเขียน ทั้งหมด5ข้อ เต็ม10คะแนน ข้อสอบเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสิ่งที่เราเรียนกันมา เรื่องของพฤติกรรมเด็กในแบบต่างๆ เราจะมีวิธีแก้ไขหรือดูแลอย่างไรเป็นต้น

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  19/03/58
เรียนครั้งที่ 10  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


(ความรู้ที่ได้รับ)
1. กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อผ่อนคลายสนุกสนานที่อาจารย์ได้เตรียมมา

2. เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ความรู้ที่ได้คือ >>>
       - เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
       - การกินอยู่       - การเข้าห้องน้ำ
       - การแต่งตัว     - กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง     - อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง   - เชื่อมั่นในตนเอง   - เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”
จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
# ทักษะการช่วยเหลือตนเอง เช่น (อายุ 3-4 ปี)
  (การแต่งตัว)
     - ถอดเสื้อได้เรียบร้อย รวดเร็ว
     - ใส่เสื้อ ,ถอดกระดุม ,ซิปได้คล่อง
     - เก็บเสื้อแขวนใส่ตู้ได้
  (การกินอาหาร)
     - ใช้ช้อนส้อมได้คล่อง
     - รินน้ำจากเหยือกใส่แก้วได้
     - กินอาหารรวมกับคนอื่นในครอบครัวได้ แต่อาจอืดอาด
  (การอาบน้ำและการเข้าห้องน้ำ)
     - ชอบอาบน้ำเอง
     - เล่นน้ำในอ่างจะไม่ค่อยเลิก
     - อาบไม่สะอาด
     - ตื่นนอนตอนกลางวันและขอให้พาไปห้องน้ำ
  (ทั่วไป)
     - บอกอายุ เพศ ชื่อนามสกุล ตนเองได้
     - ทำตามคำสั่ง 2-3 อย่างได้
     - แยกจากพ่อแม่ไปโรงเรียนได้
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
- แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
- เรียงลำดับตามขั้นตอน
  (เช่นการเข้าส้วม)
1.) เข้าไปในห้องส้วม   2.) ดึงกางเกงลงมา   3.) ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.) ปัสสาวะหรืออุจจาระ   5.) ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น   6.) ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.) กดชักโครกหรือตักน้ำราด   8.) ดึงกางเกงขึ้น   9.) ล้างมือ   10.) เช็ดมือ   
11.) เดินออกจากห้องส้วมการ
วางแผนทีละขั้น
- แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
สรุป 
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
- ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ

3. กิจกรรมระบายสีเป็นวงกลมตามใจชอบ
- อาจารย์แจกกระดาษและสีเทียนให้ทุกคน
- ต่อมาวาดเป็นวงกลม เลือกสีตามใจชอบ โดยการวนสีเป็นวงกลมหลายๆชั้น 
- เสร็จแล้วใช้กรรไกรตัดกระดาษเป็นรูปวงกลมตามที่เราวาดไว้
- นำวงกลมของทุกคนในห้องมาติดรวมกันเป็นต้นไม้นั้นเอง

ภาพประกอบการเรียนการสอน
 

(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำการเรียนรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกัน ภาษาที่เราควรใช้กับเด็กให้ถูกต้อง  และกิจกรรมสุดท้ายน่าสนใจมากเพราะเราสามารถนำไปใช้ได้จริงในการบำบัดเด็กและมีความสวยงามอย่างมากนั้นเอง
(การประเมินผล)
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา  ในเวลาเรียนก็ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน แต่บางครั้งก็มีพูดคุยกับเพื่อนๆบ้าง เมื่อมีการทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงาน อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนนิดหน่อยค่ะ
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีงานให้ทำที่ไม่ยากและง่ายเกิน นอกจากนี้อาจารย์ยังได้อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ทำให้นักศึกษาเข้าใจ  ชอบกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมามากค่ะ สนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนๆนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  12/03/58
เรียนครั้งที่ 9  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


(ความรู้ที่ได้รับ)
1. กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อผ่อนคลายที่อาจารย์ได้เตรียมมาให้
2. ทบทวนการร้องเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยที่อาจารย์เคยแจก

3. เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ทักษะภาษา ความรู้ที่ได้คือ >>>
การวัดความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น   - การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง   - ติดอ่าง
การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
- ห้ามบอกเด็กว่า “พูดช้าๆ”  “ตามสบาย”  “คิดก่อนพูด”
- อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้ภาษา
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
พฤติกรรมตอบสนองการแสดงออกทางภาษา
เด็กตอบสนองต่อสิ่งเหล่านี้หรือไม่ เช่น
- เสียงของครูโดยหันมามอง
- ต่อคำถาม "เอาอะไร"ด้วยการชี้
- ต่อประโยค "ช่วยเอาให้ที"
ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
- ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
- ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
- ใช้คำถามปลายเปิด
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
- ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)

4. กิจกรรมศิลปะ-ดนตรีบำบัด 
- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี 
- เมื่ออาจารย์เปิดเพลง ลากไปตามอารมณ์ของเพลง วาดยังไงก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ 
- เมื่อเพลงจบให้หยุดได้ 
- เสร็จแล้ว ให้ระบายสีไปที่ช่องปิดตายให้ครบทุกช่องนั้นเอง

ภาพประกอบการเรียนการสอน

(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำการเรียนรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกัน ภาษาที่เราควรใช้กับเด็กให้ถูกต้อง และนอกจากนี้เรายังสามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความหมายของเพลงอีกด้วย และกิจกรรมสุดท้ายน่าสนใจมากเพราะเราสามารถนำไปใช้ได้จริงในการบำบัดเด็กนั้นเอง
(การประเมินผล)
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา เลยได้ดาวเด็กดี ในเวลาเรียนก็ตั้งใจฟังในสิ่งที่ครูสอน แต่บางครั้งก็มีพูดคุยกับเพื่อนๆบ้าง เมื่อมีการทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนนิดหน่อยค่ะ
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีงานให้ทำที่ไม่ยากและง่ายเกิน นอกจากนี้อาจารย์ยังได้อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ทำให้นักศึกษาเข้าใจ และยังมีการร้องเพลงอีกด้วย ชอบกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมามากค่ะ สนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนที่จับคู่กันนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  05/02/58
เรียนครั้งที่ 8  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ไม่มีการเรียนการสอน

*หมายเหตุ  เนื่องจากอาจารย์ติดธุระค่ะ


วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  26/02/58
เรียนครั้งที่ 7  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


ไม่มีการเรียนการสอน

*หมายเหตุ  เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาค

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  19/02/58
เรียนครั้งที่ 6  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี


(ความรู้ที่ได้รับ)
ในวันนี้ เริ่มแรกมีทบทวนบทเรียนเก่าเพิ่มเติมนิดหน่อย มีทั้งกิจกรรมทดสอบที่อ.เตรียมมาเพื่อให้นักศึกษาได้ผ่อนคลาย มีการร้องเพลงที่อ.เตรียมมา ส่วนเนื้อหาหลักที่เรียนในวันนี้คือ เรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ และกิจกรรมสุดท้ายคือดนตรีและศิลปะบำบัดเด็กนั้นเอง
1.ทบทวนและเรียนบทเรียนเก่าเพิ่มเติ่ม
2.กิจกรรมแบบทดสอบเพื่อผ่อนคลายที่อ.ได้เตรียมมา
3.กิจกรรมฝึกร้องเพลงที่อ.แจกให้นักศึกษา ร้องเพลงไปพร้อมๆกัน

4.เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ มีเนื้อหาสาระคือ
ทักษะทางสังคม
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆมีความสุข
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลักดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
- เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก   - ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง     - คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน      - เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน “ครู” ให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ    - ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป    - เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน    - ทำโดย “การพูดนำของครู”
ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ    - การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
5.กิจกรรมศิลปะและดนตรีบำบัดเด็ก
- จับคู่กัน 2คน ต่อกระดาษ 1แผ่น และเลือกสีที่ชอบมาคนล่ะ1สี
- คุยกันว่าใครเป็นเด็กพิเศษใครเป็นเด็กปกติ 
- ตกลงกันว่าใครเป็นคนวาดเส้น ใครเป็นคนวาดจุด
- เมื่ออ.เปิดเพลง คนที่ลากเส้นก็ลากไปตามอารมณ์ของเพลง วาดยังก็ได้ แต่ห้ามยกสีออกจากกระดาษ
- คนที่วาดจุด ก็ให้ไปวาดจุดตรงที่เป็นส่วนของวงกลม จากคนที่วาดเส้นได้วาดเอาไว้
- เมื่อเพลงจบให้หยุดได้ แล้วช่วยกันมองว่าเห็นเป็นรูปอะไร หลังจากนั้นก็วาดรูประบายสีตามที่เห็น
ภาพประกอบการเรียนการสอน

(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำการเรียนรู้ในวันนี้ไปปรับใช้ในสถานการณ์ต่างๆได้ เช่นในห้องเรียนเราจะทำยังไงถ้าเจอเด็กที่แตกต่างกัน และเรายังสามารถนำเพลงที่อาจารย์สอนร้องนี้ไปใช้สอนเด็กได้ในเรื่องที่เกี่ยวกับความหมายของเพลงอีกด้วย และกิจกรรมสุดท้ายน่าสนใจมากเพราะเราสามารถนำไปใช้ได้จริงในการบำบัดเด็กนั้นเอง
(การประเมินผล)
ตนเอง = วันนี้มาเรียนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ในเวลาทำงานก็จะตั้งใจทำงานโดยเฉพาะงานวาดรูประบายสี มีส่วนร่วมในกิจกรรมงานคู่ อาจมีการพูดคุยกับเพื่อนบ้างในบางครั้ง
เพื่อน = เพื่อนๆเข้าเรียนกันแต่เช้า ในชั้นเรียนตั้งใจทำงานที่อาจารย์สั่งมาก เมื่อมีกิจกรรมใด ทุกคนในห้องก็จะให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีเสมอ
อาจารย์ = อาจารย์มีงานให้ทำที่ไม่ยากและง่ายเกิน นอกจากนี้อาจารย์ยังได้อธิบายเนื้อหาอย่างเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น ทำให้นักศึกษาเข้าใจ และยังมีการร้องเพลงอีกด้วย ชอบกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมามากค่ะ สนุกสนานและได้ลงมือทำงานกับเพื่อนที่จับคู่กันนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ 
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อ. ตฤน แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี  12/02/58
เรียนครั้งที่ 5  เวลาเรียน 8:30-12:20
กลุ่ม 101 วันพฤหัสบดี 


**หมายเหตุ ในวันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไม่สบาย ไปโรงพยาบาลมาค่ะ